ปริศนาธรรมโบราณของ ธงกฐินทั้ง 4

  ธงกฐินทั้ง 4 คือ จระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ และเต่า

เป็นปริศนาธรรมของคนโบราณ

จระเข้ หมายถึง ความโลภ (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม)

ตะขาบ หมายถึงความโกรธ (พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต)

นางมัจฉา หมายถึง ความหลง (เสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงใหล)

เต่า หมายถึง สติ (การระวังรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง)

"ธงจระเข้" ใช้ประดับในการแห่ (มีตำนานว่าเศรษฐ๊เกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย)

"ธงนางมัจฉา" ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน (เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่าอานิสงค์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม)

"ธงตะขาบ" ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว (ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้องเสียเวลามาถาม)

"ธงเต่า" ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว (จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12 )

ในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระเข้ และนางมัจฉา ที่จะปรากฎในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบและเต่าพบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัดที่ยังคงรักษาธรรมเนียมเก่าอยู่
 
บันทึกโดย กระเบื้องดินเผาไทย
th-tile.com
Visitors: 925,574