เก๋งจีนคือ?

     กระเบื้องดินเผามุงหลังคาแบบจีน เราก็ผลิตขายมานานแล้วอ่ะนะ  แต่ เก๋ง ในคำว่าเก๋งจีนที่เรียกอาคารศาลเจ้ากันเนี้ย ใช่เก๋งเดี่ยวกับรถเก๋งมั้ยน้าา?

กระเบื้องหลังคาเก๋งจีน กระเบื้องหลังคาจีน

  เก๋ง  ตามพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน    แปลว่า 

(น.) เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน  เครื่องบังมีฝาและหลังคาแบน สําหรับเรือและรถ เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.

นอกจากนี้ เก๋งจีนยังเป็นชื้อไม้ประดับต้นเล็กๆ

เก๋งจีน ยังเป็นชื่อต้นไม้ด้วย  ต้นเก๋งจีน มีชื่อภาษาอังกฤษที่มักถูกเรียกคือ Huernia ต้นเก๋งจีนจะมีหลายสายพันธุ์ และมีหลายชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยจะจำแนกตามลักษณะดอก  ต้นเก๋งจีน เป็นไม้อวบน้ำที่ให้ดอกได้ง่าย ดอกมีสีสันสวยงาม ดอกออกแนวสีแปลกตา และลายแปลกตากว่าไม้อวบน้ำทั่วๆ ไป (บางทียังคิดว่านี้ดอกไม้จริงๆหรือใครเอาสีมาทาสีดอกแบบนี้นะ) แต่ละสายพันธุ์ จะมีดอกและลักษณะแตกต่างกัน

  หรือลองดูคำอธิบาย จาก รายการ วิทยุไทยศึกษา (โดยย่อ)

วันที่ออกอากาศ: 23 สิงหาคม 2558
วิทยากร: ดินาร์ บุญธรรม
ผู้ดำเนินรายการ: วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

     เก๋ง คืออาคารรูปทรงจีน ที่ปะปนอยู่ในงานสถาปัตยกรรมไทยมาตั้งแต่โบราณ ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง เรือน หรือ ตึก ที่มีรูปหลังคาแบบศาลาจีน ก่อด้วยอิฐหรือปูน ไม่ได้สร้างด้วยไม้ทั้งหมด อาจสันนิษฐานได้ว่า เก๋ง มีรากศัพท์มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งแปลว่า บ้าน หรือ เรือน ลักษณะของเก๋งแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ 

-เก๋งที่มีลักษณะเป็นห้องที่มีรั้วรอบขอบชิด มีทางเปิดปิดสำหรับเข้าออกได้ ใช้เป็นศาสนสถาน เช่น อุโบสถ วิหาร หรือหอสำหรับประดิษฐานปูชนียวัตถุ หรือพระพุทธรูป เป็นต้น

-เก๋งทรงศาลา ปล่อยโล่ง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด

   วิวัฒนาการของเก๋งในสถาปัตยกรรมไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งเริ่มติดต่อการค้าสำเภากับจีน แต่ปัจจุบันไม่สามารถพบร่องรอยของเก๋งที่สร้างในสมัยอยุธยาได้ เนื่องจากถูกทำลายไปเมื่อคราวศึกสงคราม 

   ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงโปรดให้สร้างพระตำหนักเก๋งคู่ ไว้ที่ริมประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า พระราชวังเดิม ทรงใช้เป็นพระวิมารที่บรรทม

   ในสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมสร้างเก๋งทั้งในเขตพระราชฐานที่ประทับ และในวัด เก๋งในเขตพระราชฐานมีทั้งลักษณะอาคารรโหฐาน หรือศาลา ตัวอย่างเช่น พระตำหนักสวนกุหลาบ ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ

     แม้ว่าเก๋งจะเป็นอาคารก่อตึกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมของจีน แต่เราจะพบว่าอาคารทรงเก๋งได้เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมของไทยอย่างกลมกลืน ซึ่งแสดงถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ระหว่างไทยและจีน ที่มีอย่างยาวนาน จนเกิดเป็นงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะจีน กับงานศิลปะประเพณีไทยได้อย่างลงตัว

 

  เลือกซื้อ กระเบื้องดินเผา ตรงจากโรงงาน เผาเอง ขายเอง

ที่ www.th-tile.com 

   

รวบรวบและบันทึกโดย

กระเบื้องดินเผาไทย

3/7/2566

ข้อมูลจาก

thaistudies.chula.ac.th

livingpop.com

Visitors: 894,167