รู้จักกับกระเบื้องว่าววัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กระเบื้องว่าวคืออะไร รู้จักกับภูมิปัญญาการทำกระเบื้องมุงหลังคาที่ส่งต่อจากอดีตถึงปัจจุบัน

กระเบื้องว่าววัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมที่ยังคงรูปแบบความสวยงามของกระเบื้องว่าวเอาไว้ได้มีชีวิตชีวาที่เราสามารถมองเห็นได้ง่ายก็คือวัดและสถานที่ราชการ หรือพระราชวังต่างๆ ที่ยังคงใช้กระเบื้องรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนี้อยู่ หากแต่ในอดีต กระเบื้องรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องที่สามารถหาได้ง่าย ปรับใช้ได้กับงานอาคารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนหรือศาสนสถานต่างๆ โดยถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีการปรับตัวตามยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้หรือขนาดและรูปทรง ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของสถาปนิกและผู้ใช้งาน

วันนี้มารู้จักกับกระเบื้องว่าว กระเบื้องมุงหลังคาแบบไทยๆ ที่ไม่เพียงแค่ทำให้อาคารของคุณดูสวยและมีเอกลักษณ์ แต่ยังใช้วัสดุท้องถิ่นที่หาง่ายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอาคารรูปแบบโบราณหรือร่วมสมัยก็ปรับใช้ได้ไม่ตกเทรนด์

 

กระเบื้องว่าวคืออะไร รู้จักกับภูมิปัญญาการทำกระเบื้องมุงหลังคาที่ส่งต่อจากอดีตถึงปัจจุบัน

กระเบื้องว่าวหน้าตาเป็นอย่างไร
กระเบื้องว่าวคือกระเบื้องสำหรับมุงหลังคา มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่มีลักษณะคล้ายกับว่าวปักเป้าที่นิยมเล่นกันในอดีต ที่มาของชื่อจึงสอดคล้องกัน มีหลากหลายขนาดแต่เฉลี่ยอยู่ที่ 9 x 9 นิ้ว และ 13 x 13 นิ้วในปัจจุบัน แต่ในอดีต กระเบื้องรูปแบบนี้ก็มีรูปทรงและรายละเอียดที่หลากหลายทั้งการเจาะขอบหรือทำให้เหลี่ยมนั้นมีความมนมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองกับการใช้งานในแต่ละสถานที่ จึงมีชื่อเรียกเฉพาะแบบออกไปอีก เช่น กระเบื้องว่าวเล็ก ว่าวใหญ่ ว่าวปลายตัด ลายน้ำไหล ลายเกล็ดปลา

กระเบื้องว่าวทำมาจากอะไร
ในอดีตนั้นกระเบื้องประเภทนี้มักจะทำจากดินเผาสีแดง เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาถูกและยังไม่มีสารพิษกับผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่พัฒนาไปทำให้กระเบื้องประเภทนี้มีวัสดุที่หลากหลายขึ้น และแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือกระเบื้องที่ทำจากปูนซีเมนต์ เนื่องด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเข้าซีเมนต์เข้ามาในประเทศ และได้ทรงเล็งเห็นว่าซีเมนต์นั้นมีความแข็งแรงมากกว่า จึงมีการนำกระเบื้องว่าวซีเมนต์มาใช้อย่างแพร่หลายในสถานที่ราชการต่างๆ ทั้งเคหสถาน ทางรถไฟ และสถานที่ราชการ ในขณะที่กระเบื้องว่าวดินเผาก็จะคงไว้ในวัดหรือวังเพื่อเป็นการอนุรักษ์

กระเบื้องว่าวใช้ในอาคารแบบใด
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระเบื้องว่าวมักจะใช้งานแค่ในอาคารส่วนรวมหรือศาสนสถาน เพราะต้องใช้ช่างทำกระเบื้องที่มีความเชี่ยวชาญและทำด้วยมือชิ้นต่อชิ้น ศาสนสถานจึงมักจะใช้กระเบื้องประเภทนี้มาทำเป็นหลังคาของอาคาร อีกทั้งยังมีการทาสีและเคลือบสีหลากหลายแบบให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้งาน

แต่หลังจากมีการนำเข้าซีเมนต์กระเบื้องประเภทนี้ก็ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยการแพร่ไปถึงอาคารการค้า ร้านรวงธุรกิจที่ทำการติดต่อกับต่างชาติ หรือแม้กระทั่งบ้านเรือนของราษฎร เพราะซีเมนต์เป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทานมีอายุการใช้งานยืนยาว กระเบื้องประเภทนี้จึงเป็นตัวเลือกแรกๆของการสร้างบ้านอีกด้วย

ในปัจจุบัน เราจะเห็นกระเบื้องชนิดนี้เป็นจำนวนมากในศาสนสถานที่ยังคงมีการอนุรักษ์และทำนุบำรุงกระเบื้องเอาไว้เป็นอย่างดี และอาคารทรงไทยโบราณที่ผู้ใช้งานอยากให้บ้านมีสไตล์ที่ร่วมเย็น เข้ากับธรรมชาติ กระเบื้องว่าวดินเผามักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ เสมอเนื่องจากใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และยังให้ภาพลักษณ์แบบไทยๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอีกด้วย

 

ข้อดีของกระเบื้องว่าว เหตุผลที่ครองใจคนไทยมาอย่างยาวนาน

  1. กระเบื้องว่าวเป็นวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    กระเบื้องประเภทนี้มักจะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นอย่างดินเหนียวหรือดินเผา ก่อนจะมีการรณรงค์ให้ใช้เป็นซีเมนต์แทน ในปัจจุบัน กระเบื้องจากดินเผานั้นได้รับความนิยมกลับมาอีกครั้งเพราะเป็นตัวเลือกที่ราคาไม่สูง อีกทั้งยังเข้ากันได้ดีกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ทำให้อาคารดูเป็นมิตรกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

  2. กระเบื้องว่าวมีความแข็งแรงทนทาน
    เพราะรูปร่างและขนาดที่เล็กของกระเบื้องประเภทนี้ทำให้ต้องมีการติดตั้งแบบละเอียดติดกันซ้อนชั้นขึ้นไป วิธีการนี้อาจทำให้ต้องใช้กระเบื้องเป็นจำนวนมาก แต่ก็ทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากขึ้นทนต่อการแตกหักและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปัจจุบันแม้แต่กระเบื้องแบบดินเผาก็ยังมีความทนทานมากกว่าการใช้กระเบื้องจากวัสดุสังเคราะห์บางประเภท

  3. กระเบื้องว่าวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
    หนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าใครมาอย่างยาวนานคือการออกแบบคันกันน้ำย้อนที่รองสันใต้กระเบื้อง ทำให้น้ำฝนไหลตามรอยคันกั้นและต้องลงสู่พื้นได้นิ่มนวลและมีแบบแผนกว่ากระเบื้องมุงหลังคาแบบโค้ง ที่ไม่สามารถบังคับการไหลได้ และเสียงน้ำฝนที่ตกกระทบเองก็ไม่ดังรบกวนเท่ากับสังกะสี เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อประเทศร้อนชื้นอย่างประเทศไทยที่มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี นอกจากนี้ในฤดูร้อน กระเบื้องว่าวจากดินเผายังช่วยในการคลายความร้อนและไม่กักเก็บความร้อนเอาไว้ในตัวบ้าน ความชื้นในดินเผายังช่วยลดอุณหภูมิของบ้านในวันที่แดดจัดอีกด้วย

 

จะเห็นได้ว่ากระเบื้องว่าวนั้นมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และเป็นวัสดุคู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน รวมถึงยังมีเอกลักษณ์และข้อดีที่โดดเด่นอีกมากมาย พร้อมตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หากคุณกำลังมองหากระเบื้องมุงหลังคาสำหรับงานอาคารของคุณ ลองพิจารณาใช้กระเบื้องว่าวเพื่อให้การใช้งานของบ้านนั้นตอบโจทย์กับผู้อยู่อาศัย และยังมีสไตล์แบบไทยๆ ที่มีเสน่ห์ไม่ซ้ำใคร ลองเข้ามาปรึกษา โรงงานกระเบื้องดินเผาไทยแสงบรรพต ชลบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านกระเบื้องหลังคาดินเผา พื้น ผนัง อิฐทนไฟ อิฐประดับ ปูนทนไฟ กระเบื้องว่าว กระเบื้องเกล็ดปลา ฯลฯ แหล่งผลิตและจัดจำหน่ายที่มีประสบการณ์กว่า 50 ปี

 

 

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โรงงานกระเบื้องดินเผาไทยแสงบรรพต
โทร: 0898342552 อีเมล: sale.bunpot@gmail.com

Facebook: https://www.facebook.com/th.tile

      

 

Visitors: 925,574