หนองมน

โดย: กระเบื้องดินเผาไทย [IP: 101.109.96.xxx]
เมื่อ: 2019-06-08 13:10:10
หนองมน หนองน้ำมนต์

หนองน้ำมนต์ เมืองคนหวาน

เปิดตำนาน อัน ชื่อ"หนองมน"นั้น หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าชื่อนี้ ได้แต่ใดมา

ผ่านไปใครแวะมาจะรู้บ้างหนอ ว่าหนองน้ำมนต์คือชื่อเดิมของ “หนองมน” ที่รู้จักกันเป็นดิบดี มองผิวเผินตลาดหนองมน ก็คงเป็นตลาดเก่าแก่ ที่นักท่องนักเที่ยวต่างแวะกันมา ชิม ชม ช็อป กันตามประสาคนหาช่วงเวลาแห่งความสุข แต่น้อยคนนัก ที่รู้ความเป็นมาหรือประวัติอันเลื่องลือเมื่อครั้นก่อนของที่นี้ ชื่อหนองมนที่เรารู้จักนี้ มีที่มาอย่างไร..

ตามตำนานของหมู่บ้านแห่งนี้ก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า หนองมน เดิมที เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของ จ. ชลบุรี วันหนึ่งมีพระธุดงค์ได้มาปักกลดค้างแรมข้างหนองน้ำแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน ซึ่งช่วงเวลเนั้น ที่หมู่บ้านแห่งนี้และหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นพอดี ส่งผลให้ชาวบ้านต่างเจ็บป่วย ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก แม้ว่าชาวบ้านจะพยายามหาหมอกลางบ้านหรือหมอยาสมุนไพรก็ไม่สามารถรักษาได้ ด้วยความวิตกกังวลชาวบ้านจึงนิมนต์พระธุดงค์ให้มาช่วยเหลือ พระธุดงค์รูปนั้นจึงได้ทำพิธีปลุกเสกน้ำมนต์ให้ชาวบ้านที่มาขอน้ำมนต์นำไปดื่มกินและประพรมตัวให้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ปรากฏว่าโรคร้ายหายไปไม่มีใครล้มป่วยอีก ดังนั้นชาวบ้านที่หมู่บ้านใกล้เคียงได้ยินกิตติศัพท์ในการรักษาโรคร้าย ต่างก็พากันมาขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อเพื่อไปรักษาโรคร้ายในหมู่บ้านของตนบ้าง



จนพระธุดงค์ไม่สามารถทำน้ำมนต์ให้เพียงพอกับความต้องการได้ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันขุดบ่อน้ำตรงที่พักของพระธุดงค์เป็นบ่อน้ำ ก่อนเชิญท่านมาทำพิธีปลุกเสกและหยดเทียนลงไปในบ่อน้ำนั้นชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านนำน้ำในบ่อไปดื่มกินและรักษาโรคร้ายด้วยความศรัทธา



เมื่อพระธุดงค์ออกเดินทางไปธุดงค์ที่อื่น ชาวบ้านต่างพากันอพยพมาอยู่ใกล้ๆ หนองน้ำกลายสภาพเป็นหมู่บ้านใหญ่ ส่วนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้นนานๆ เข้าก็แผ่ขยายกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อว่า “หนองน้ำมนต์” และเรียกหมู่บ้านตามชื่อหนองน้ำนั้น ก่อนจะกลายเป็น“หนองมน” ในกาลต่อมา เพราะไม่มีหนองน้ำมนต์ให้เห็นอีก เพราะหนองน้ำมนต์ได้กลายเป็นท้องไร่ท้องนาไปแล้วนั่นเอง..



คนเมืองหวาน เมื่อพูดถึงรสชาติอาหารของคนเมืองนี้ ผู้คนต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาหารของเมืองนี้ “หวาน” นอกจากรสชาติของขนมหวานที่เมืองนี้จะมีความหวาน หอม กลอมกล่อมอยู่มากแล้ว อาหารคาวก็ยังมีรสชาติที่ออกไปทางหวานกลอมกล่อมเช่นเดียวกัน ขนมหวานของเมืองนี้ จึงขายดิบขายดีเป็นพิเศษ เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะสูตรของแต่ละอย่างอยู่มาก เช่น ข้าวหลาม ขนมมจาก และอื่นๆอีกมากมายให้เลือก ความเป็นอริจินอล ความเป็นธรรมชาติของรสชาติของขนมหวาน สะท้อนวิถีชีวิตอันน่าจดจำและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เช่นการ “เผาข้าวหลาม”ชาวหนองน้ำมนต์ คนเมืองหวาน จึงเป็นที่รู้จักต่อนักท่องนักเที่ยว ใครที่ได้แวะเวียนมาจำต้องซื้อของติดไม้ติดกลับไปอย่างแน่นอน ไม่อย่างนั้นจะพูดได้ว่า มาไม่ถึง “บางสิบหมื่น”



กระเบื้องดินเผาไทย

30/05/2562

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 905,960